ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ผักกาดช้าง, หญ้าคออ่อน
ผักกาดช้าง, หญ้าคออ่อน
Crassocephalum crepidioides (Benth.) S.Moore
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Asteraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Crassocephalum crepidioides (Benth.) S.Moore
 
  ชื่อไทย ผักกาดช้าง, หญ้าคออ่อน
 
  ชื่อท้องถิ่น ด่อหยั่ง, ด่อกุล่า(ปะหล่อง), ไบแบ้ง(ลั้วะ), เพี๊ยะคอด มะนอด(ลั้วะ), ผักกาดนา, ผักหมอกง๊อก(ไทใหญ่), ผักหลั่ง(ลั้วะ), หญ้าหนาดหมักแตบ(ไทลื้อ), หมะแต๊บ(ขมุ), หน่อบออึ๊(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) อี่ถู่เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ หญ้าคออ่อนเป็นพืชล้มลุก มีริ้วหรือจุดสีม่วงเข้มตามลำต้น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นออกตามปลายยอดหรือกิ่ง เมล็ดแก่มีขนสีขาวช่วยกระจายพันธุ์
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำใส่น้ำพริก แกง(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ,ขมุ)
ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ)
ยอดอ่อน กินดิบหรือลวกกินกับน้ำพริก ใส่แกงแค(ไทใหญ่)
ยอดอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดกับลาบ(ไทลื้อ)
ยอดอ่อน นำไปแกงหรือกินสดกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น ผัด และใส่ข้าวเบอะ ทั้งต้น ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ทั้งต้น เป็นอาหารเลี้ยงหมู(ลั้วะ)
ยอดอ่อน ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(ลั้วะ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ชุ่มชื้น ที่โล่งริมถนน และแปลงเกษตร
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง